วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับ ในการใช้อินเทอร์เน็ต


       จากปัญหาการล่อลวงอินเกิดจากการเล่นอินเทอร์เน็ตที่นับวันจะยิ่งมีมากขึ้น ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้พยายามหามาตรการป้องกันปัญหาและภัยจากการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากคนที่ขาดจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อทั้งตนเอง และสังคม เพื่อหลีกเลี่ยงและรับมือกับความเสี่ยงจากภัยออนไลน์ ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึง บัญญัติ 10 ประการ ซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ซึ่งผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ ดังนี้

       1) ต้องไม่ให้คอมพิวเตอร์ทำราย หรือละเมิดผู้อื่น เช่น ไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย ไม่เผยแพร่รูปภาพลามกอนาจาร เป็นต้น
      
2) ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช่น การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง
       3) ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
       4) ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
       5) ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
       6) ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
       7) ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
       8) ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
       9) ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
      10) ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบันหรือ

สังคมนั้นๆ
                
         บริการบนอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาให้มีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย  ผู้ใช้สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว  สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ทั้งเพื่อการศึกษาการทำงาน  ความบันเทิง  หรือเพื่อตอบสนองความต้องการด้านอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ดีอินเทอร์เน็ตยังมีผลกระทบทางด้านลบต่อสังคม  เช่น  ก่อให้เกิดความเครียดของคนในสังคม   เกิดปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์    เป็นต้น  ดังนั้น  ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรมีวิจารณญาณ  รู้จักแยกแยะสิ่งถูกผิด  และจรรยาบรรณในการใช้อินเทอร์เน็ต  เพื่อให้การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างสร้างสรรค์  และสร้างประโยชน์ให้กับสังคม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น